แนะนำโครงการ

ความเป็นมา

จังหวัดปัตตานีเป็นพื้นที่ราบชายฝั่งทะเลเป็นส่วนใหญ่ มีแม่น้ำปัตตานี แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำยะหริ่งและแม่น้ำหนองจิกไหล่ผ่าน มี 12 อำเภอ ได้แก่ เมืองปัตตานี โคกโพธิ์ มายอ หนองจิก ปะนาเระ สายบุรี ยะรัง ทุ่งยางแดง ไม้แก่น กะพ้อ และแม่ลาน
ประชากรของจังหวัดปัตตานีมีจำนวน 635,671 คน มีจำนวนครัวเรือน 153,466 ครัวเรือน (สถิติจังหวัดปัตตานี,2563)
การทำงานพบว่า มีผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 36.04 สาขาการขายส่ง การขายปลีกฯ ร้อยละ 15.90 สาขาการผลิต ร้อยละ 10.96 สาขาโรงแรม และอาหาร ร้อยละ 9.29 สาขาการก่อสร้างร้อยละ 6.75 สาขาการบริหารราชการ และการป้องกันประเทศ ร้อยละ 6.45 สาขาการศึกษา ร้อยละ 5.82 และที่เหลือกระจายอยู่ในสาขาอื่น
สำหรับการศึกษาประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่า ต่ำกว่าประถมศึกษาและไม่มีการศึกษา ร้อยละ 24.03 ระดับประถมศึกษาร้อยละ 29.36 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 17.40 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายร้อยละ 15.72 ระดับมหาวิทยาลัย ร้อยละ 13.15 ไม่ทราบและอื่นๆ

แนวทางในการยกระดับปากท้องประชาชนเพื่อแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน

การทำให้การหมุนเวียนของเงินในพื้นที่จังหวัดปัตตานีสะพัดโดยการกระตุ้นให้เกิดการค้าขาย การจ้างงานและการเป็นผู้ประกอบการ
กระบวนการและวิธีการทำงานที่สามารถนำเงินจากนอกพื้นที่เข้ามาสู่คนในพื้นที่ได้โดยใช้ Digital Marketing ผ่านการสร้าง Digital platform การเป็นผู้ประกอบการ
Collaboration หรือทำงานร่วมกันระหว่างนักวิชาการ ผู้นำชุมชนและเยาวชนในและกลุ่มอื่นๆเช่นการกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเกษตรกร กลุ่มประมง ศูนย์การเรียนรู้ ฯลฯ ที่สามารถรวมตัวกันเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือบนการพัฒนาทรัพยากรในพื้นที่อย่างสร้างสรรค์

วัตถุประสงค์งานวิจัย

1. เพื่อจัดเก็บ รวบรวมและจัดทำฐานข้อมูล ของตำบลบานา อำเภอเมือง และ ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี รวมทั้งทรัพยากรต่าง ๆ ในตำบล โดยการจัดทำข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจและการกำหนดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากใน ๒ ตำบลข้างต้น
2. เพื่อพัฒนาระบบนิเวศการสร้างความเป็นผู้ประกอบการที่สนับสนุนให้ประชากรกลุ่มฐานรากสามารถผลิตสินค้า/บริการบนฐานทรัพยากรที่มีในชุมชน โดยสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและตอบโจทย์ ความต้องการของตลาดได้
3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนในการพัฒนาสินค้า/บริการ เพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

ความเจริญรุ่งเรืองเริ่มหยั่งรากเมื่อทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญกับนวัตกรรม โดยเฉพาะการสร้างนวัตกรรมการตลาด

ประยุกต์ใช้กระบวนการจาก
MIT REAP
ในการพัฒนาผู้ประกอบการ

innovation-driven entrepreneurial (IDE) ecosystems.

Translate research and expertise into practical frameworks (แปลงานวิจัยและความเชี่ยวชาญลงสู่ปฏิบัติ)
Convene stakeholders (corporate, risk capital, entrepreneur, university and government) from ecosystems around the world to build a community for collaboration and learning
(ประชุมพูดคุยกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งประกอบด้วย ภาคธุรกิจ การเงิน ผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัย และภาครัฐ เพื่อสร้างชุมชนผู้ประกอบการให้เกิดขึ้น)
Educate regional innovation ecosystem leaders through team-based learning to facilitate meaningful economic and social outcomes (ให้ความรู้แก่ผู้นำระบบนิเวศนวัตกรรมผ่านการเรียนรู้การทำงานเป็นทีม)

I-Cap: Innovation Capability  ความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมหรือสิ่งใหม่ๆ จากจุดเริ่มต้นไปจนถึงการออกสู่ตลาดได้
E-Cap: Entrepreneurship Capability  ความสามารถในการเริ่มต้น ปรับเปลี่ยนไปจนถึงการเป็นผู้ประกอบการได้