picture

การประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยวัตกรรมตามกรอบ MIT REAP

2022-02-06 18:04:37 | 2 years ago

          หลายทศวรรษที่ผ่านมาประเทศไทยมุ่งพัฒนาผู้ประกอบการด้วยการสร้างธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางที่เรียกว่า SMEs ให้เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากและ SMEs เหล่านี้ได้กลายเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ได้มาก อย่างไรก็ตามในยุคที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด การพัฒนาผู้ประกอบการในประเทศที่พัฒนาแล้วจะมุ่งเน้นไปที่การค้นคว้าและสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างความแตกต่างและชิงความได้เปรียบในตลาด ไม่ว่าจะเป็น Facebook Google Lazada Food Panda Gojek หรือ Flash ของประเทศไทยต่างมุ่งเน้นนวัตกรรมและความคิดใหม่ๆ ในการเป็นผู้นำในตลาดการแข่งขัน

ดังนั้นการออกแบบมาตรการพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมขึ้นในท้องถิ่นจำเป็นต้องทำความเข้าใจรูปแบบการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ๆ ซึ่งปัจจุบันมีการยอมรับกันอย่างกว้างขวางทั่วโลกนั่นคือ การพัฒนาการประกอบการด้วยนวัตกรรม (Innovation Driven Entrepreneurship: IDE)

นั่นก็หมายถึงว่า "ความเจริญรุ่งเรืองเริ่มหยั่งรากเมื่อทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญกับนวัตกรรม โดยเฉพาะการสร้างนวัตกรรมการตลาด"

 The MIT Regional Entrepreneurship Acceleration Program (MIT REAP)” ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ออกแบบมาเพื่อให้เกิดการเร่งเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค โดยการพัฒนาให้เกิดการประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation-Driven Entrepreneurship: IDE) ผ่านการพัฒนาศักยภาพของ Change Agents ทั้งทางด้านนวัตกรรม (Innovation Capacity: I-Cap) และด้านความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship Capacity: E-Cap)

สำหรับ MIT REAP Model อธิบายถึง Innovation Capacity (I-Cap)ไว้ว่าเป็นความสามารถด้านนวัตกรรมที่ผู้ประกอบการมีซึ่งอาจเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับแบบดั้งเดิม
เช่น การใช้จ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนา (R&D) หรือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (S&T) แต่ก็ยังไม่เพียงพอในการอธิบายช่วงของนวัตกรรมที่สามารถทำให้เกิด 'ผลกระทบ' ต่อประเทศได้  ดังนี้นต้องมีด้านการเป็นผู้ประกอบการ (Eืntrepreneurship-Capacity) คือความสามารถในการสร้างองค์กร การเป็นผู้ประกอบการ ทั้งในรูปแบบ start-Up หรือ SMEs โดย MIT REAP มองว่าหน่วยงานภาครัฐหรือเครือข่ายที่เกี่ยวข้องต้องส่งเสริมให้มีการประกอบการที่ใช้ 2 อย่างนี้เข้าด้วยกันถึงจะสามารถทำให้ธุรกิจมีความแปลกใหม่น่าสนใจและเติบโตได้เร็ว

โดย MIT REAP จะเน้นการเชื่อมโยงเครือข่ายจากหลากหลายภาคส่วน เพื่อก่อให้เกิดการสร้างระบบนิเวศที่สนับสนุนผู้ประกอบการท้องถิ่น

 

ดังนั้น แนวคิดของ MIT REAP (Li, 2018, Aulet, 2013) จะมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (IDE) ซึ่งประกอบด้วย 5 ภาคส่วน ได้แก่ภาครัฐ ภาคการศึกษา ผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจบริษัทขนาดใหญ่ และ ภาคการเงินหรือแหล่งทุน ดังแสดงในรูปภาพ

 

 

 

 

 

 

 

รูปภาพ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามกรอบของ MIT REAP (https://reap.mit.edu/about/)

โดยทั้ง 5 ภาคส่วนมีการทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งกรอบของ MIT REAP มี 4 ประการดังนี้

  1. Translate research and expertise into practical frameworks (แปลงานวิจัยและความเชี่ยวชาญลงสู่ปฏิบัติ)
  2. Convenestakeholders (corporate, risk capital, entrepreneur, university and government) from ecosystems around the world to build a community for collaboration and learning (ประชุมพูดคุยกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งประกอบด้วย ภาคธุรกิจ การเงิน ผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัย และภาครัฐ เพื่อสร้างชุมชนผู้ประกอบการให้เกิดขึ้น)
  3. Educateregional innovation ecosystem leaders through team-based learning to facilitate meaningful economic and social outcomes (ให้ความรู้แก่ผู้นำระบบนิเวศนวัตกรรมผ่านการเรียนรู้การทำงานเป็นทีม)
  4. Impact regions through the development of new programmatic and policy interventions that build on strengths and support weaknesses to support IDEs (ทำให้เกิดผลกระ ทบในระดับภูมิภาคผ่านการพัฒนารูปแบบการแทรกแซงเชิงโปรแกรมและนโยบายใหม่ๆ ที่สร้างจากจุดแข็งและสนับสนุนจุดอ่อนเพื่อสนับสนุน IDEs

อ้างอิง

Bill Aulet, Disciplined Entrepreneurship, แปลโดย วิญญู กิ่งหิรัญวัฒนา, วิชาสร้างธุรกิจฉบับ MIT (กรุงเทพมหานคร, สำนักพิมพ์วีเลิร์น, 2560), หน้า 20-23.

OJOMO, E & ALTON. R. (2020). AVOIDING THE PROSPERITY PARADOX: How to build economic resilience in apost-COVID world. The Clayton Christensen Institute for Disruptive Innovation.

Li, T. (2018). An Immerging Global Innovation Hub. Maxico.

MIT REAP. https://reap.mit.edu/