picture

ทำความรู้จัก คำว่า.. ผู้ประกอบการทางสังคม Social Entrepreneur

2022-02-02 20:50:06 | 2 years ago

ที่มาของการประกอบการเพื่อสังคม

หากพูดถึงจุดเริ่มต้นของคําว่า “ผู้ประกอบการเพื่อสังคม” และ “การประกอบการเพื่อสังคม” ได้ถูกใช้ครั้งแรกใน หนังสือของ H. Bowen ที่ชื่อว่า“Social Responsibilities of the Businessman” ในปี ค.ศ. 1953 แต่อย่างไรก็ดี ในปี 1980-1990 คนที่เป็นผู้นําคําดังกล่าวมาใช้อย่างกว้างขวางคือ Bill Drayton ผู้ก่อตั้ง Ashoka ซึ่งเป็นองค์กรที่ค้นหาคัดเลือกและสนับสนุนผู้นําการเปลี่ยนแปลง (Change Maker) ซึ่งหมายถึง ผู้ประกอบการเพื่อสังคม (Social Entrepreneurs) โดยมีเครือข่ายมากกว่า 2,000 คน ใน 60 กว่าประเทศใน 5 ทวีปทั่วโลก 1 ในขณะเดียวกัน นักการเมือง Michael Young เป็นอีกคนหนึ่งที่สนับสนุนแนวคิดของการประกอบการเพื่อสังคม โดยได้สร้างองค์กรที่ส่งเสริมเรื่องดังกล่าวมากกกว่า 60 องค์กรทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น Schools of Social Entrepreneurs (SSE) ซึ่งตั้งอยู่ ในประเทศอังกฤษ ออสเตรเลีย และแคนาดา นอกจากนี้ ในช่วง ปี ค.ศ. 1984 ยังมีผู้ประกอบการเพื่อสังคม อย่าง Muhammad Yunus ได้ก่อตั้ง Grameen Bank ที่สร้างปรากฏการณ์ในการทําที่เกิดผลกระทบในเชิงบวกทางสังคม อย่างมาก โดยเป็นผู้คิดค้นและเปลี่ยนแปลงแนวคิดของธนาคารจากการใช้หลักทรัพย์คํ้าประกันที่เป็นสินทรัพย์ที่จับต้องได้ในการกู้ยืมเงินทุนที่มีมูลค่าตามหลักทรัพย์นั้นเป็นการทําเครดิตรายย่อย (Microcredit) แต่ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันทางสังคม (Social Collateral) ซึ่งจับต้องไม่ได้มาเป็นส่วนค้ำประกัน ซึ่งทําให้คนที่เข้ามาต่างยืนอยู่บนพื้นฐาน จากความน่าเชื่อถือ เชื่อใจ (Trust) ส่งผลทําให้โมเดล Microcredit ขยายไปทั่วโลก

การประกอบการ (Entrepreneurship) คือ ??

คําว่า “การประกอบการ” หรือบางทีใช้คําว่า “การเป็นผู้ประกอบการ หรือ ความเป็น ผู้ประกอบการ” มาจากตัวบุคคลที่เรียกว่า “ผู้ประกอบการ (Entrepreneur)” ซึ่งปัจจุบันมักมีความเกี่ยวข้องกับการ เริ่มต้นธุรกิจ เป็นเจ้าของธุรกิจ

คําว่า “Entrepreneur” ถือได้ว่าเป็นคําศัพท์ที่มีรากมาจากภาษาฝรั่งเศสในช่วงศตวรรษที่13 คําว่า Entreprendre (คํากริยา) หมายความว่า เข้ากระทําบางอย่าง (to do something) หรือเข้ารับภาระหน้าที่ (to undertake) แต่ทว่า Entrepreneur เป็นคํานาม ของตัวบุคคล ดังนั้น จึงหมายความถึง บุคคลที่เข้ารับผิดชอบ ภาระหน้าที่ หรือเข้ากระทําอย่างใดอย่างหนึ่ง “one who undertakes (some task) ”

คำนิยามของคําว่า ผู้ประกอบการ “Entrepreneur” คือ “ตัวบุคคลที่มีภาระหน้าที่ในการก่อตั้ง จัดการ รวบรวม ทรัพยากรและ ปัจจัยการผลิตอื่นๆ ในการประกอบธุรกิจ โดยหวังผลตอบแทนในอนาคต”

ความหมายของ “สังคม” ตามพจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน สังคม หมายความว่า “คนจํานวนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตามระเบียบกฎเกณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์ สําคัญร่วมกัน เช่น สังคมชนบท วงการ หรือสมาคมของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง”

เมื่อนําสองคําที่กล่าวข้างต้นมารวมกัน นักวิชาการต่างได้ให้คํานิยามที่หลากหลายซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นความเชื่อและองค์ความรู้เดิมของผู้ให้คํานิยาม การมีส่วนได้ส่วนเสียของคนหรือองค์กรที่ให้คํานิยามรวมไปถึงกระบวนการและวัตถุประสงค์ของการประกอบเพี่อสังคม อย่างไรก็ดี Dees (1998) ได้กล่าวไว้ว่า สําหรับการประกอบการเพื่อสังคมพันธกิจหลักและถือว่าเป็นรากฐาน คือ พันธกิจทางสังคม (Social Mission) ซึ่งความหมายของการประกอบการเพื่อสังคมจากนักวิชาการ องค์กรเพื่อสังคมและผู้นําทางสังคมต่างให้ความหมายใน หลากหลายมุมหากแต่ล้วนแล้วแต่มีพันธกิจเดียวกันคือสังคมนั้นเอง

ความแตกต่างระหว่าง ผู้ประกอบการทางสังคม (Social Entrepreneur) และ วิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise)

SE หลายคน คงคุ้นหูกับคำสองคำ คือ ผู้ประกอบการทางสังคม (Social Entrepreneur) และ วิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ว่ามีความแตกต่างหรือความเหมือนกันอย่างไร มาดูความหมายโดยสรุป คือ
ผู้ประกอบการทางสังคม (Social Entrepreneur) คือ บุคคลที่มีแรงปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะดําเนินการเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่สิ่งที่ดีกว่า โดยทํางานอย่างมีกลยุทธ์เพื่อความคงอยู่ของคุณค่าในสังคม แต่ไม่จําเป็นต้องบริหารงานในรูปของวิสาหกิจเพื่อสังคมเสมอไป ส่วนวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) คือ องค์กร/หน่วยงานท่ีทําธุรกิจเพื่อเป้าหมายทางสังคมและสิ่งแวดล้อมท่ีดีกว่า ผู้ร่วมงานในองค์กรอาจไม่ได้มีเป้าหมายการทํางานเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม แต่ปฏิบัติหน้าที่ตามพันธะกิจขององค์กร ดังนั้น เจ้าหน้าที่ในวิสาหกิจเพื่อสังคม อาจไม่ใช้ผู้ประกอบการทางสังคมก็เป็นได้


สรุปสั้นๆ นั่นก็คือ การประกอบการเพื่อสังคมเป็นการสร้างคุณค่าให้แก่สังคม (Social Value) และมีแรงจูงใจ จากความเห็นอกเห็นใจคนอื่นนอกเหนือจากตนเอง การประกอบการเพ่ือสังคมยังเป็นตัวแปรสําคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมให้เกิดผล กระทบในเชิงบวก และมีบทบาทท่ีสําคัญไม่ว่าจะเป็นในด้านการสร้างเครือข่ายทางสังคมในชุมชน การสร้างงาน การสร้างสรรค์สวัสดิการในรูปแบบใหม่ หรือการแก้ไขปัญหาที่สําคัญของสังคม

 

เอกสารอ้างอิง
http://thailand.ashoka.org

http://www.npithailand.com/sites/default/files/SE_Organic_Dummy_Energy-จัดเล่ม.pdf

โครงการการพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนและกจิกรรมเสริมหลักสูตรด้านความเป็นผู้ประกอบการ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.2560

สฤณี อาชวานันทกุลและคณะ. 2560. โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมสําหรับกิจการเพื่อสังคม และจัดทํากรณีศึกษานําร่อง.รายงานฉบับสมบูรณ์ สํานักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย. พฤษภาคม 2560.