หมู่ 1 บ้าน สุไหงปาแน ตำบล บานา
ประวัติศาสตร์/ความเป็นมา
ท่าเรือสินค้าฮอลันดา (สุไหงปาแน : คลองเตย)
บ้านสุไหงปาแน มีชื่อดั้งเดิมคือ “ซูไงปันดัน” หมายถึง วิสัยทัศน์หรือผู้ที่มองการณ์ไกล เนื่องจากสมัยก่อน ชุมชนแห่งนี้จะมากด้วยผู้ที่มีความรู้ และมีสถานที่สอนศาสนาหลายแห่ง ต่อมาเกิดการเพี้ยนเสียงเรื่อยมา
ซูไงปันดัน จึงเพี้ยนเป็นสุไหงปาแนในปัจจุบัน
บ้านสุไหงปาแน เป็นส่วนหนึ่งของตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ใกล้กับมัสยิดกรือเซะ
ที่มีความสำคัญเชิงประวัติศาสตร์อันยาวนานบนความรุ่งโรจน์ของ “ราชอาณาจักรมลายูปัตตานี” หรือ “ปัตตานี ดารุสลาม” (ปัตตานี นครแห่งสันติ) ในอดีต
เมืองเก่ากรือเซะ – บานา เป็นชุมชนเก่าแก่และเป็นท่าเรือที่สำคัญของปัตตานีในอดีต ในช่วง
พุทธศตวรรษที่ 22 เมืองปัตตานีประกอบด้วยชุมชนใหญ่ 2 บริเวณ บริเวณแรกเป็นเขตพระราชวังหรือ โกตารายาที่กรือเซะ เป็นที่อยู่อาศัยของเจ้าเมืองและวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางและข้าราชการของสำนัก บริเวณที่ 2
เป็นย่านการค้าและชุมชนที่บานาหรือ “Bandar” คำว่า “Bandar” เป็นภาษาเปอร์เซีย แปลว่า บริเวณของเมือง
ที่เป็นท่าเรือและแหล่งค้าขาย ในสมัยนั้น บานาจึงเป็นตลาดการค้ากับนานาชาติ และเป็นศูนย์รวมกิจกรรมต่างๆ ของเมือง ก็คือแนวสันทรายชายฝั่งความยาวประมาณ 3 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ใน ท้องที่ตำบลบานาไปจนถึงตำบลตันหยงลูโละ มีเรือขนาดเล็กขนส่งสินค้าเข้ามาถึงชายฝั่ง ส่วนเรือขนาดใหญ่ต้องทอดสมออยู่นอกฝั่งห่างออกไปเกือบๆ 1 ไมล์ ทั้งนี้เนื่องจากอ่าวมีความลึกไม่มาก เรือสินค้าต่างประเทศเข้ามาค้าขายที่ปัตตานีเกือบตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงปลายเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม เป็นช่วงที่ดีที่สุดที่จะแล่นเรือจากชวามายังปัตตานีและเดินทางกลับในเดือนตุลาคม ส่วนจากเดือนตุลาคมถึงมกราคมเป็นช่วงที่มีเรือเข้ามาแวะน้อย เนื่องจากเป็นช่วงมรสุมมีคลื่นลมแรงจัด ในบันทึกของพ่อค้าชาวดัชท์ระบุว่า ในการ นำเรือเข้าเทียบท่าที่ปัตตานีนั้น เขาได้สังเกตภูเขาสูงเทือกหนึ่งเป็นจุดสังเกตสมัยนั้นเรียกภูเขานั้นว่า “GoenoengNipiki” หรือที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า “กุงอินทิรา” หรือ “อินทริราคีรี” ซึ่งหมายถึงภูเขาที่สถิตของพระอินทร์ ภูเขาดังกล่าวในปัจจุบันคือ เขาใหญ่ หรือบูกิตบือซาร์ ตั้งอยู่ตรงแนวรอยต่อของ 3 จังหวัด คือ สงขลา ปัตตานี และยะลา เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาสันกาลาคีรี
ปัจจุบันชาวเรือยังใช้เป็นจุดสังเกตเมือง จะนำเรือเข้าฝั่งที่ปัตตานี
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-22 เมืองท่าปัตตานีเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปของพ่อค้าวานิชชาวตะวันตก นโยบายการค้าของปัตตานีมีความเป็นอิสระและไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก โปรตุเกสและฮอลันดาตั้งสถานีการค้า ที่ปัตตานีก่อนที่จะติดต่อกับอยุธยา สินค้าจากตะวันตกมีจำหน่ายมากมายเรือสินค้าจากจีนแลญี่ปุ่นได้ขนถ่ายแลกเปลี่ยนรับสินค้าจากตะวันตกที่ปัตตานีไปจำหน่ายต่อที่อยุธยาและที่อื่นๆ โปรตุเกสเป็นชาวตะวันตก ชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับปัตตานี ในปี พ.ศ. 2059 ล่วงมาถึงปี พ.ศ. 2081มีชาวโปรตุเกสอยู่ที่ปัตตานีราว 300 คน นอกจากนั้นมีชาวตะวันออกชาติอื่นๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น อีกด้วย หลังจากนั้นมีฮอลันดา อังกฤษ และ สเปน ก็เข้ามาตั้งสถานีการค้าที่ปัตตานี การค้าที่ปัตตานีในระยะนั้นเฟื่องฟูมากมีเรือสินค้าเข้าออกตลอดเวลา สินค้าจากปัตตานีที่มีชื่อเสียงเป็นที่ต้องการของชาวต่างประเทศ ได้แก่ ข้าว ดีบุก งาช้าง กำยาน ไม้หอม ครั่ง ไม้ฝาง หนังกวาง ขิง น้ำตาล เกลือ พริกไทย และสมุนไพรต่างๆ ส่วนสินค้านำเข้า ได้แก่ เครื่องถ้วยชาม แพรไหม
เมืองปัตตานีในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 23 ปรากฏในเอกสารบันทึกการเดินทางของอเล็กซานเดอร์ ฮามิลตัน กัปตันชาวอังกฤษว่า เมืองปัตตานี สมัยนั้นมี 43 แคว้น มีอาณาเขตรวมไปถึงกลันตัน และตรังกานู มีเมืองท่า
2 แห่งคือ กัวลาปตานี และกัวลาบือเกาะฮ์ พลเมืองของปัตตานีในขณะนั้นมี ถึง 150,000 คน ตัวเมืองมีบ้านเรือนหนาแน่นมาก เมืองท่าปัตตานีในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21 –23 ได้ชื่อว่าเป็นเมืองท่านานาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างแท้จริง เรือสินค้าจากแถบทุกชาติมาแวะจอด ด้วยที่ชาวเมืองเคร่งครัดในการปฏิบัติตามกฎของเจ้าเมือง พ่อค้าวานิชจึงพึงพอใจที่จะนำสินค้ามาที่ท่าเรือที่ปลอดภัยกว่า เมืองปัตตานีสมัยนั้นเปิดให้มีการค้าเสรีจากทุกชาติมีระบบการจัดเก็บภาษีที่เป็นระบบและเป็นธรรม ทำให้ ท่าเรือปัตตานีได้รับความนิยมมากจากพ่อค้าชาวต่างประเทศ
ในพุทธศตวรรษที่ 23 การค้าที่ปัตตานีก็ซบเซาลงไป เนื่องด้วยสาเหตุหลายประการ ได้แก่ บริษัทการค้าของดัชท์ที่ช่องแคลบมะละกามีบทบาททางการค้ามากขึ้น ตลาดการค้าที่ญี่ปุ่นได้รับความสนใจจาก
ชาวต่างประเทศเพิ่มขึ้น ความต้องการซื้อผลผลิตจากคาบสมุทรมลายูลดลงและปริมาณการซื้อขายสินค้า ในระดับท้องถิ่นลดลง ล้วนเป็นสาเหตุให้ท่าเรือปัตตานีสูญเสียบทบาทที่สำคัญลงไป นอกจากนั้นการศึกสงครามกับสยามทุกครั้งล้วนมีส่วนทำให้ปัตตานีทรุดโทรมลงไปอีกทั้งปัญหาการเมืองและความขัดแย้งภายในของปัตตานีเองนับว่าเป็นสาเหตุสำคัญเช่นกันที่ทำให้สถานภาพที่เคยมั่งคั่งในอดีตได้เปลี่ยนแปลงเมืองปัตตานีที่ กรือเซะ– บานา
จึงถึงยุคเสื่อมและถูกทิ้งร้างไปในเวลาต่อมา
ในสมัยการปกครองของตนกูมูฮัมหมัดหรือตนกูบือซาร์ (พ.ศ. 2388 – 2399) ได้ย้ายศูนย์กลาง การปกครองไปยังสถานที่แห่งใหม่ที่จะบังติกอและสร้างวังจะบังติกอขึ้นใหม่ ศูนย์กลางความเจริญก็เกิดขึ้น ที่เมืองจะบังติกอ
มีการค้าขายกับต่างประเทศอยู่เช่นเดิมโดยเฉพาะกับพ่อค้าชาวจีน และเมืองใกล้เคียง ส่วนเมืองปัตตานีที่กรือเซะ
ก็ค่อยๆลดความสำคัญลงไป ประกอบกับท่าเรือและลำคลองต่างๆ ตื้นเขิน จนเรือไม่สามารถเข้าจอดเทียบท่าได้อีก รวมระยะเวลาทั้งสิ้นประมาณ 400 ปีที่เมืองปัตตานีบริเวณกรือเซะ – บานาเจริญรุ่งเรืองสูงสุดจนได้ชื่อว่าเป็น “มหานคร” ในปัจจุบันเมืองเก่ากรือเซะ– บานายังไม่มีการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดี ทำให้ยังไม่ทราบข้อมูลด้านโบราณสถานและโบราณวัตถุมากนัก
ปัจจุบันร่องรอยคูเมืองและกำแพงเมืองเก่ามีหลงเหลืออยูบ้างแต่ส่วนใหญ่มีการปรับสภาพที่ดิน เพื่อใช้ในการเพาะปลูกและก่อสร้างที่อยู่อาศัย โบราณวัตถุประเภทตะกรันจากการหลอมหล่อโลหะ และ เศษภาชนะ ถ้วยชามต่างประเทศ และเครื่องถ้วยท้องถิ่นพบได้บริเวณพื้นดินทั่วไปในเขตเมืองเก่าและบริเวณที่เคยเป็นท่าเรือโบราณสถานที่สำคัญที่ยังคงเหลืออยู่ได้แก่ มัสยิดกรือเซะ ซึ่งเชื่อว่าสร้างในสมัยสุลต่าน มูซัฟฟาร์ซาห์ (พ.ศ. 2073 –2107) ตามคำแนะนำของชัยยิด ซอฟียุดดิน ผู้รู้ในศาสนาอิสลามในสมัยนั้น จึงทรงรับสั่งให้สร้างมัสยิดขึ้น 2 แห่ง คือ ในตัวเมืองหนึ่งแห่ง และที่ท่าเรืออีกหนึ่งแห่ง มัสยิดในตัวเมือง ในสมัยนั้นเรียกว่า “มัสยิดปินตู เกิรบัง”
(มัสยิดประตูเมือง ) สร้างบริเวณหน้าพระลานตรงตำแหน่งที่ตั้งของมัสยิดกรือเซะในปัจจุบัน ส่วนอีกหลังหนึ่งที่สร้างที่ท่าเรือนั้น ปัจจุบันคือมัสยิดดาโต๊ะ ตั้งอยู่ที่สะบารังตันหยง หรือแหลมฝั่งตรงข้ามกับเมืองปัตตานี เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มัสยิดดารุล – นาอีม เป็นมัสยิดที่มีความสำคัญ ต่อพ่อค้านักเดินเรือที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นอย่างมาก ในอดีต มัสยิดดาโต๊ะได้รับการขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ. 2478 และได้รับการบูรณะมาแล้วหลายครั้ง ปัจจุบันจึงยังคงสภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง ส่วนมัสยิดกรือเซะนั้นได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ. 2478 เช่นกัน (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. 2543. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกสารและภูมิปัญญา. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.)
บ้านสุไหงปาแน อันเป็นที่ตั้งของศูนย์เด็กกำพร้าและยากจนอนาถาบ้านสุไหงปาแน ที่เมื่อก่อน มีสภาพเป็นป่ารกทึบ จึงได้รับอิทธิพลจากความเจริญจากเมืองท่าบานา จนมีการสร้างบ้านแปลงเมืองอย่าง ต่อเนื่องจนเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่จนถึงทุกวันนี้
เสน่ห์ชุมชน (Value)
คลองหมาก เป็นคลองที่มีจุดเริ่มต้นจากการรับน้ำจากทุ่งซึ่งมีลักษณะเป็นพรุขนาดใหญ่ในพื้นที่หมู่ที่ ๑ บ้านสุไหงปาแน ตำบลบานา จากนั้นมีทิศทางการไหลของน้ำจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก โดยจะไปรวมกับคลองกือเซะ
ที่บ้านกรือเซะ (กำปงปัง) หมู่ที่ ๓ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี และการที่ปลายคลองสายนี้ไปบรรจบกับคลองกือเซะ ซึ่งเชื่อมต่อเข้ากับคูเมืองปัตตานีได้ จึงทำให้คลองสายนี้กลายเป็นหนึ่งในเส้นทางสำคัญสำหรับการขนถ่ายสินค้าเข้าออกเมืองปัตตานี
อัตลักษณ์
ผู้คนในชุมชนบ้านสุไหงปาแน มีวัฒนธรรมและประเพณีที่ได้รับอิทธิพลจากการเผยแพร่ศาสนาอิสลามส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่ง จากการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมชวา ประเทศอินโดนีเซีย ผ่านมาทางประเทศมาเลเซีย หรือบางครั้งก็เผยแพร่เข้า มาในพื้นที่โดยตรง โดยไม่ผ่านประเทศมาเลเซียก็มี จะเห็นได้จากการใช้ภาษา “มลายู”
การแต่งกาย การดําเนินชีวิต ที่มีแบบแผนหลายอย่างที่คล้ายคลึงกัน
กิจกรรมและประเพณีในชุมชน ได้แก่
ผลิตภัณฑ์
ศิลปะหัตถกรรม
อาหาร
เว็บเทศบาล : https://www.pattanicity.go.th/hotel/detail/20/data.html
รวมที่พักทั้งหมด : http://www.me-fi.com/tourismdb/tourism-5sbp/data_list.php?cateLv=1&cateID=19&subid=51
สถานที่สำคัญ
- มัสยิดอัลฮุสนา
- โรงเรียนดาตีกาอัลอุสนา
- โรงเรียนดารุลบารอกะฮ์
- มูลนิธิบ้านเด็กกําพร้าปัญญาเลิศ
- ศูนย์ส่งเสริมการฝึกอาชีพช่างไม้
- ศูนย์ส่งเสริมการฝึกอาชีพการตัดเย็บ
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบานา
สถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง
มีแหล่งท่องเที่ยวทางการศึกษา ได้แก่ โรงเรียนดารุลบารอกะฮ์ , มูลนิธิบ้านเด็กกําพร้าปัญญาเลิศ
บ่อน้ำและหินโบราณบ้านบานา
บ่อน้ำและหินโบราณบ้านบานา ตั้งอยู่ที่บ้านบานา ตำบลบานา ห่างจากมัสยิดกรือเซะไปทางทิศตะวันตกประมาณ 102 กิโลเมตร บ่อน้ำแห่งนี้มีอายุเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่บานาเริ่มที่เป็นที่จอดเรือของพ่อค้าต่างชาติ และเป็นแหล่งน้ำจืดสำหรับอุปโภคบริโภค และใช้มาจนถึงสมัยที่โรงเรียนปอเนาะเป็นที่นิยมแพร่หลายในระยะนั้น เมืองต่างๆแถบนี้ เช่น ตรังกานู กลันตัน ฯลฯ
ส่งบุตรหลานมาเรียน บ่อน้ำแห่งนี้ได้ใช้เป็นที่อาบน้ำของนักเรียน จนไม่นานมานี้ได้เลิกใช้ไป เนื่องจากชุมชนขยายตัวมากขึ้น ส่วนใหญ่จึงมีบ่อน้ำของตนเอง รวมทั้งสถานที่สาธารณะ เช่น มัสยิดและโรงเรียน ก็มีแหล่งน้ำใช้จากบาดาล และบ่อที่ขุดขึ้นเอง ทำให้บ่อน้ำแห่งนี้ถูกทิ้งร้างมาจนถึงทุกวันนี้
สำหรับหินโบราณที่บ้านบานานั้น สร้างขึ้นจากหินแกรนิต มีประวัติความเป็นมาเป็น 2 กระแส ผู้อาวุโสในหมู่บ้าน
เล่าว่าหินโบราณนี้นำมาจากตรังกานู เมื่อประมาณ 80 กว่าปีที่แล้ว โดยนำลงเรือมาที่บ้านบานา เรือดังกล่าวบรรทุกเกลือมาจากปัตตานีไปขายที่ตรังกานู เมื่อนำเกลือขึ้นจากเรือแล้ว ขากลับจึงได้นำหินนี้ถ่วงเรือมาจนถึงปัตตานี ในระยะแรกๆชาวบ้านได้ใช้หินนี้เป็นที่วางซักเสื้อผ้า ต่อมาจึงได้นำมาวางที่มัสยิด เพื่อใช้เป็นที่ชำระล้างทำความสะอาดเท้า ก่อนขึ้นไปบนมัสยิดเพื่อทำพิธีทางศาสนา ด้วยรูปลักาณ์ที่เป็นเสมือนรางรับน้ำและมีร่องระบายน้ำทิ้ง ทำให้ใช้ประโนยชน์เป็นที่ล้างเท้าได้ดี ขณะที่อีกกระแสหนึ่งระบุว่าหินโบราณชิ้นนี้ คือ ที่วางศวลึงค์ ตามความเชื่อของชาวฮินดู บางส่วนนับถือศาสนาพุทธ ในชุมชนบานาเองก็มีผู้คนหลายเชื้อชาติศาสนา ประชาชนเมื่อเข้ารับอิสลามในระยะแรกๆ ก็ยังมีพิธีกรรมเก่าๆหลงเหลืออยู่ แม้แต่กบัตริย์ที่เข้ารับอิสลามเป็นพระองค์แรกก็เพียงประกาศว่า จะไม่เสวยเนื้อสุกร และทรงเลิกนับถือบูชาเทพเจ้า เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ สุสานของพระองค์ถูกประดับด้วยหินเสามี่สักลวดลายที่มีความหมาย ของความตาย และการเกิดใหม่ตามความเชื่อของชาวฮินดู-พุทธ ขณะที่อิสลามที่แท้จริงนัันจะไใ่เน้นการสร้างสัญลักษณ์ใดๆ ขึ้นมา
สะพานไม้ บานา
เมื่อพูดถึงธรรมชาติใกล้เมืองปัตตานี และรู้จักขึ้นชื่อโดยทั่วไป อุดมสมบูรณ์ ติดอันดับต้นๆของประเทศไทย คงหนีไม่พ้น ป่าโกงกาง ป่าธรรมชาติ ที่เรียกว่า “ป่าชายเลนยะหริ่ง” มีเนื้อที่กว้างมากกว่า 9,000 ไร่ และอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด
ป่าชายเลนซึ่งอยู่บริเวณปากอ่าวปัตตานี บ้านยามู อ…ยะหริ่ง จ.ปัตตานี การล่องเรือชมป่าชายเลน จัดว่าเป็นกิจกรรมอีกอย่างหนึ่ง ที่นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือชมธรรรมชาติป่าชายเลนคลองน้อยใหญ่ มีอุโมงค์โกงกางที่สวยงามแปลกตา และนอกจากช่วงเวลากลางวัน ในยามค่ำคืนสามารถเที่ยวชมดูดวงแสงหิ่งห้อยนับพันนับแสนดวงกันเลยทีเดียว
สะพานไม้ แห่งนี้ตั้งอยู่ในทำเลอันเหมาะ สวยงาม ต่อมาจึงถูกพัฒนาผลักดันให้กลายเป็นจุดต้อนรับนักท่องเที่ยว ที่หนึ่ง มีการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐและการท่องเที่ยวจังหวัดปัตตานี กลายเป็นกลุ่มท่องเที่ยวที่เน้นการพัฒนาคืนสู่ถิ่น เป็นแหล่งการท่องเที่ยวแบบเชิงนิเวศน์ บริเวณอ่าวปัตตานี สามารถพานักท่องเที่ยวล่องเรือในบริเวณรอบอ่าวปัตตานี นอกจากนี้ยังได้สัมผัสความเป็นท้องถิ่นมลายูที่ชัดเจน พร้อมอาหารพื้นบ้านเริศรส ทางวิถีวัฒนธรรมประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนบานา
และทีนี่อีกเช่นเดียวกัน มีกลุ่มนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชุมชน ที่รวมก่อตั้งขึ้นมา เพื่อเป็นตัวเชื่อมระหว่างชุมชน หรือนักท่องเที่ยว กับธรรมชาติที่มีอยู่อย่างลึกซึ้งลงตัว คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษณ์ธรรมชาติ ป่าชายเลน บ้านบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี มีหน้าที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน นำนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมธรรมชาติ โดยพลิกบทบาทจากการประกอบอาชีพเดิม คือ ชาวประมงพื้นบ้าน ด้วยสภาพธรรมชาติและสัตว์น้ำที่ลดน้อยลงเรื่อยๆ และปัญหาทำมาหากินเก่งๆ เลยรวมกลุ่มขึ้นมาเพื่อดูแลธรรมชาติ พลิกบทบาทนำชุมชนสู่ความเข้มแข็ง โดยการท่องเที่ยวชุมชนฯ และศึกษาธรรมชาติ สำหรับเยาวชน และผู้สนใจต่อไป
เผยแพร่โดย กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม อบต.บานา
ลานนกกระยาง
ลานนกกระยาง ตั้งอยู่ที่ บ้านแหลมนก ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของชาวจังหวัดปัตตานี ซึ่งเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา โดยนายนิติ วิวัฒน์วานิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานเปิดภายในงานการจัดกิจกรรม โครงการ อบต.เคลื่อนที่ ประจำปีงบประมาณ 2564 ณ ลานนกกระยาง หมู่ 9 บ.แหลมนก ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี เพื่อให้สถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยว สถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน และเสริมสร้างรายได้เศรษฐกิจชุมชน โดย อบต.บานา ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ผ่านมาจากจังหวัด และ อบต.บานา เป็นผู้รับผิดชอบ งบประมาณก่อสร้าง ประมาณ 40 กว่าล้านบาท คลอบคลุมพื้นที่ ลานคอนกรีต พิมพ์ลาย ขนาด กว้าง425 ตารางเมตร × ยาว 20 ตารางเมตร นอกจากนี้ ในบริเวณ ยังประกอบด้วย ศาลานั่งพักผ่อน ม้าหิน ม้านั่ง และสะพาน 3 แห่ง ใช้เวลาในการก่อสร้าง ประมาณ 2 ปี จึงแล้วเสร็จ
ที่มา: https://www.oocities.org/yatimmiskin/report/02.html
https://www.finearts.go.th/main/view/19926-คลองสำคัญในประวัติศาสตร์ปัตตานี
https://moral.m-culture.go.th/moralcommunity/มัสยิดอัลฮุสนา-บ้านสุไห/
http://www.me-fi.com/tourismdb/tourism-5sbp/data_list.php?cateLv=2&cateID=123&subid=51
http://www.me-fi.com/tourismdb/tourism-5sbp/data_list.php?cateLv=2&cateID=122&subid=51
https://www.facebook.com/Capebird/
https://www.facebook.com/nakluavillaresort/?ref=page_internal
https://th.polomap.com/ปัตตานี/1675
http://www.me-fi.com/tourismdb/tourism-5sbp/data_detail.php?cateLv=1&cateID=21&subid=51&dataID=3721
https://www.facebook.com/201529314003770/posts/218053515684683/
https://yala-patani-naratiwat.blogspot.com/2020/12/blog-post.html
รูปภาพ
รับชมคลิปเต็มได้ที่ Youtube Ecotive Ch
หมู่ 1 บ้าน สุไหงปาแน ตำบล บานา