ประวัติความเป็นมา
หมู่บ้านรูสะมิแลไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่ามีความเป็นมาอย่างไร แต่สันนิษฐานจากตำนานและคำบอกเล่า คำว่า “รูสะมิแล” มาจากภาษาท้องถิ่นหรือยาวี หมายถึง “สนเก้าต้น” (รู แปลว่า “เก้า”) เล่ากันว่าบริเวณหมู่บ้านรูสะมิแล ในสมัยก่อนมีต้นสนเก้าต้นเรียงอยู่ตาม ริมทะเล โดยมีตำนานเกี่ยวกับสนเก้าต้นพอสรุปได้ดังนี้ คือ
เมื่อประมาณปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา มีหญิงสาวคนหนึ่งชื่อ ลิ่มโกเหนียว ได้นำเรือสำเภาจากเมืองจีน 9 ลำ โดยนางได้รับอาสากับบิดามารดาของนางที่จะมาตามหาพี่ชาย คือ ลิ่มโต๊ะเคียม ซึ่งจากบ้านมาเป็นเวลานานแล้วให้กลับไปยังเมืองจีน เมื่อมาถึงปัตตานีนางก็ได้นำเรือทั้ง 9 ลำ ซึ่งมีผู้สันนิษฐานว่าบริเวณที่จอดเรือขึ้นฝั่งก็คือ บริเวณชายหาดหน้าหมู่บ้านรูสะมิแลปัจจุบัน จากนั้นก็ได้ขึ้นฝั่งและเดินทางไปหาลิ่มโต๊ะเคียม ที่กรือเซะ (เป็นชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่งปัจจุบันอยู่ห่างจากตัวเมืองปัตตานีประมาณ 8 กิโลเมตร) โดยทิ้งเรือไว้ทั้ง 9 ลำที่ชายหาดรูสะมิแล เมื่อนางได้พบกับพี่ชายและได้ขอร้อง ให้พี่ชายกลับไปยังเมืองจีน แต่ปรากฎว่าพี่ชายไม่ยอมกลับ ด้วยความเสียใจและน้อยใจ ทำให้นางตัดสินใจ ฆ่าตัวตาย โดยผูกคอตายใต้ต้นมะม่วงหินพานต์ ซึ่งปัจจุบันยังมีซากเหลืออยู่ ทางด้านเรือ 9 ลำ เมื่อลิ่มโกเหนียวได้เสียชีวิตไปแล้ว ต่อมาเรือก็ผุพังลงและจมลงในที่สุดเหลือแต่เสากระโดงเรือ ทั้ง 9 ลำ ที่ทำด้วยไม้สนยังปรากฏให้เห็นอยู่ และค่อยๆผุพังในเวลาต่อมา ซึ่งคนในสมัยหลังเรียกชื่อหมู่บ้านตาม สนเก้าต้นว่า รูสะมิแล ตราบจนทุกวันนี้
จากคำบอกเล่าของคนชราในหมู่บ้าน เล่าให้ฟังว่าเมื่อประมาณ 3 ชั่วอายุคนแล้วสภาพหมู่บ้านรูสะมิแล ในสมัยนั้นเต็มไปด้วยป่า มีสัตว์ร้าย เช่น เสือ ช้าง อาศัยอยู่ไม่เฉพาะหมู่บ้านรูสะมิแลเท่านั้น แม้แต่บริเวณใกล้เคียง รวมทั้งบริเวณที่เป็นมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ก็มีสภาพไม่ต่างกับหมู่บ้านรูสะมิแลมากนัก ต่อมาก็มีชาวประมงมาจับปลาแถวหมู่บ้านรูสะมิแล และมีความคิดว่าน่าจะสร้างสถานที่พักอาศัยสำหรับพักเมื่อยามกลับบ้านเกิดไม่ทันจึงเกิดมีการสร้างบ้านขึ้นมา ตอนแรกมี 2 – 3
จากการสอบสวนเกี่ยวกับความเจริญของหมู่บ้านได้รับคำตอบว่า หมู่บ้านรูสะมิแล ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงจากหมู่บ้านรูสะมิแลเดิมมาก จนปัจจุบันจะหาเค้าเดิมยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากได้มีการสร้างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ขึ้นในบริเวณหมู่บ้านรูสะมิแลเป็นผลให้หมู่บ้านรูสะมิแลเจริญตามไปด้วย โดยมีการขยายการตั้งถิ่นฐานจนกลายเป็นหมู่บ้านตราบถึงทุกวันนี้
รูปภาพ
หมู่ 1 บ้าน สุไหงปาแน ตำบล บานา